ทำฟัน จัดฟัน นัดปรึกษาฟรี : @iDentistClinic

ทันตกรรมโรคเหงือกอักเสพ

โรคปริทันต์

iDentist Dental Clinic

ทันตกรรมโรคเหงือกอักเสพ

โรคปริทันต์ (Periodontal Disease)

“โรคปริทันต์” (Periodontal Disease)  หรือที่เรียกกันทั่วไปว่า “รำมะนาด” ซึ่งเป็นวายร้ายที่ค่อย ๆ ย่องระรานสุขภาพ เหงือกและฟันของเราอย่างเงียบ ๆ โดยทั่วไป เรามักจะคิดว่าความผิดปกติที่เกิดขึ้นเป็นเพียงอาการของโรคเหงือกเท่านั้น แต่ที่จริงแล้ว การอักเสบนั้นไม่ได้เกิดขึ้นเฉพาะที่เหงือก แต่เกิดขึ้นกับอวัยวะที่อยู่รอบ ๆ ฟัน ไม่ว่าจะเป็น กระดูกเบ้าฟัน เอ็นยึดปริทันต์ และผิวรากฟัน ซึ่งทำหน้าที่ยึดและพยุงฟัน ทำให้ฟันสามารถฝังอยู่ในขากรรไกรได้ ดังนั้นผู้ที่เป็นโรคปริทันต์มากจะมี ฟันโยก จนทำให้สูญเสียฟันได้

อาการและสัญญาณของโรคเงือกอักเสบ

– มีเลือดออกง่ายขณะแปรงฟัน
– เหงือกบวมแดง
– มีกลิ่นปาก
– เหงือกร่น
– ฟันโยก

เมื่อมีอาการโรคเหงือกอักเสพ

เมื่อมีอาการไม่ว่าจะอย่างใด อย่างหนึ่งข้างต้น ควรมาพบทันตแพทย์ทันทีเพื่อรับการ ตรวจรักษา หากทิ้งไว้นานอาจมีปัญหาฟันโยกถึงขั้น ต้องสูญเสียฟันได้

ขั้นตอนการรักษาโรคเหงือก การรักษาจะเริ่มต้นด้วยการขูดหินปูน และเกลารากฟัน (root planing) คือการทำให้ผิวรากฟัน เรียบ เป็นการกำจัดคราบจุลินทรีย์ และหินปูนที่เกาะบนผิวรากฟันให้สะอาด ขั้นตอนนี้จะใช้เวลานาน เนื่องจากต้องกำจัดหินปูน และคราบจุลินทรีย์ให้หมด โดยเฉพาะในตำแหน่งที่ร่องเหงือกลึก ๆ และฟันหลัง ที่มีหลายราก ซึ่งขั้นตอนนี้อาจจะต้องทำซ้ำหลาย ๆ ครั้ง ภายหลังจากรักษาเสร็จแล้วประมาณ 4 – 6 สัปดาห์ ทันตแพทย์จะนัดกลับมาดูอาการอีกครั้ง ว่าหายดีหรือไม่ และถ้ายังมีร่องลึกปริทันต์เหลืออยู่เนื่องจากมีการละลายของกระดูกไปมาก อาจจำเป็นต้อง ได้รับการผ่าตัด (ศัลยปริทันต์ : Periodontal Surgery) ร่วมด้วย ซึ่งจะทำได้ในผู้ป่วยที่ดูแลความสะอาด ได้ดีแล้วเท่านั้น การผ่าตัดเพื่อแก้ไขความพิการของกระดูกเบ้าฟันที่ถูกทำลายไปนั้น ในบางกรณี สามารถที่จะปลูกกระดูกทดแทนได้ แต่ในบางครั้งก็ไม่อาจทำได้ การผ่าตัดเหงือกจะเป็นการเข้าไปทำความ สะอาดในตำแหน่งที่ลึกและเครื่องมือลงไปทำความสะอาดได้ไม่ถึง เมื่อผ่าตัดแล้ว จะหายขาดหรือไม่

ผู้ป่วยโรคปริทันต์ ควรได้รับการตรวจติดตามผลการรักษา และให้ทันตแพทย์ขูดหินน้ำลายเพื่อ ทำความสะอาดฟันเป็นประจำทุก ๆ 3 เดือนเป็นอย่างน้อย เพื่อป้องกันไม่ให้โรคปริทันต์กลับมาอีก ซึ่งวิธีที่ดีที่สุด คือ การใส่ใจดูแลรักษาความสะอาดในช่องปากการแปรงฟันที่ถูกวิธี และใช้ไหมขัดฟัน เป็นประจำทุกวัน  แต่อย่าเพิ่งกังวลไปนะคะ เพราะโรคปริทันต์ สามารถป้องกันได้ เพียงหันมาใส่ใจและให้ ความสำคัญกับการทำความสะอาดฟันและช่องปาก เลิกสูบบุหรี่ ส่วนผู้ที่เป็นโรคนี้ก็อย่าเพิ่งวิตกจนเกินไป เพราะหากได้รับการดูแลรักษา และปฏิบัติตามคำแนะนำจากทันตแพทย์อย่างเคร่งครัด ท่านก็จะมีสุขภาพ เหงือกและฟันดีขึ้น และในบางครั้งผู้ป่วยที่มาพบคุณหมอในครั้งแรก แม้จะยังไม่ได้รับการรักษา เพียงแค่ พูดคุยทำความเข้าใจ และปฏิบัติตามคำแนะนำในเรื่องการทำความสะอาดฟัน รับรองได้ว่าจะมีสุขภาพ เหงือกที่ดีขึ้นอย่างชัดเจน